รถมอเตอร์ไซค์นับเป็นยานพาหนะที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะระยะหลังมานี้การจราจรติดขัดมาก การเดินทางด้วยรถยนต์ค่อนข้างลำบาก ซึ่งผู้เขียนเองก็หันมาพึ่งรถจักรยานยนต์เวลาเดินทางในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น

- ไม่มีใบขับขี่
สำหรับใครที่จะเริ่มขี่มอเตอร์ไซค์เนี้ย ใบขับขี่ต้องเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีเลยนะคะ ใบอนุญาตขับขี่ หรือภาษาพูดเรียกว่า ใบขับขี่ เป็นเอกสารราชการที่แสดงว่าผู้ถือได้รับอนุญาตให้ขับขี่ยานยนต์บนถนนสาธารณะ โดยส่วนใหญ่แล้วใบอนุญาตขับขี่จะออกให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำร้องผ่านการทดสอบขับรถ แต่ในหลายประเทศทุกคนจำต้องมีใบอนุญาตเสียก่อนที่จะเริ่มฝึกขับรถได้ ใบอนุญาตมีหลายประเภทตามชนิดของยวดยานที่มีวิ่งบนถนนสาธารณะ และความยากง่ายในการได้มาซึ่งใบอนุญาตในแต่ละประเทศก็ต่างกัน ทั้งนี้ยังมีข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับอายุและประสบการณ์ในการขับรถที่ผ่านมาอีกด้วย นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำใบขับขี่ได้เพิ่มมาตรการเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้ผู้อบรมมีคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาการอบรมจากเดิม 4 ชั่วโมง เป็น 5 ชั่วโมงเป็นต้น
ใบขับขี่ก็ไม่ได้ทำยากมาก แค่อบรม ไปทำข้อสอบ และสอบปฏิบัติเท่านั้นเองค่า ต้องไปทำเอาไว้ก่อนจะขับขี่รถมอเตอร์ไซค์นะคะ นอกจากจะขี่รถมอเตอร์ไซค์แบบถูกกฎหมายแล้ว ยังไม่ต้องกลัวโดนปรับเวลาเจอด่านตำรวจด้วยนะคะ เอาเงินค่าปรับไปทำใบขับขี่ดีกว่าเนอะ ไม่แพงค่ะ เสียค่าอบรมประมาณ 400 บาท และค่าทำใบขับขี่ประมาณ 100 กว่าบาทเท่านั้นเอง สามารถทำได้ที่กรมขนส่งในแต่ละจังหวัดได้เลยค่ะ


2. ไม่ใส่หมวกกันน็อก

ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อค น่าจะเป็นอาการลำดับต้นๆ ติด Top Hit ของผู้ไม่รักตัวเองก็ว่าได้ การใส่หมวกกันน็อคนั้น เพื่อรักษาศีรษะของเราเองไม่ใช่ของคนอื่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุการใส่หมวกกันน็อคนั้นจะทำให้อาการจากหนักกลายเป็นเบาได้ และหากเลือกหมวกที่ได้มาตรฐานไม่ว่าจะเป็นหมวกในหรือจะซื้อหิ้วมาจากต่างประเทศก็ตาม ขอให้เป็นแบรนด์ที่ได้มาตรฐานใส่เถอะ และหากเลือกเป็นแบบ “เต็มใบ” ก็จะยิ่งดี เพราะบางครั้งเมื่อขับขี่ตามหลังรถบรรทุกมักมีเศษหินตกลงมาอาจจะ “ดีดเข้าตา” หรืออาจมีฝุ่นผงทำให้ระคายเคืองตา และทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง อีกอย่างถ้ามีด่านตั้งหรือกล้องตรวจจับได้ต้องโดนปรับด้วยนะจ๊ะ 200 เบาๆ
3. ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่

4. แซงระยะเผาขน

5. แซงซ้าย

ตามกฏหมายมาตรา 45 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นด้านซ้าย เว้นแต่ ในกรณีต่อไปนี้ (1) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาว่าจะเลี้ยวขวา (2) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สอง ช่องขึ้นไป การขับแซงด้านซ้ายตาม (1) หรือ (2) จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่น ตามมาในระยะกระชั้นชิดและมีความปลอดภัยพอ
6. ย้อนศร

การขับขี่ย้อนศร กลายเป็น “Signature” คู่กับรถมอเตอร์ไซค์ในบ้านเราไปแล้ว ด้วยความสะดวกที่สามารถขี่รถย้อนทางรถสวน หรือขับชิดขอบทางเพื่อลัดเลาะให้ไปยังจุดกลับรถหรือเข้าซอยได้อย่างสะดวก และง่ายนิดเดียวไม่ต้องเสียเวลาอีกด้วย แต่เดี๋ยวก่อน! มันผิดกฏหมายนะครับ! เข้าใจว่าการต้องขี่อ้อมเพื่อไปกลับรถไกลๆ เสียเวลาเสียน้ำมัน เสี่ยงกับรถใหญ่ หรือจะมีข้ออ้างอะไรก็ตามแต่ ล้วนผิดกฏหมาย อันตราย และอาจทำให้รถที่ขับในทางถูกต้องมาชนได้โดยไม่ทันจะระวัง และคนที่เจ็บก็เป็นผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ย้อนศรมานั่นเอง
7. ขี่บนทางเท้า

ขี่รถบนทางเท้าหรือฟุตบาท กลายเป็นปัญหาระดับชาติไปแล้ว แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าไม่ควรแต่ก็ยังทำกันอยู่โดยไม่สนใจว่าคนเดินเท้าจะหลบกันแทบไม่ทัน ส่วนมากมักเจอบางคนที่ขี้เกียจรอรถติดยาวๆ หรือรอติดนานๆ ไม่ไหว ต้องขี่ขึ้นฟุตบาทเพื่อให้ไปได้เร็วขึ้น ฯลฯ ก็ตาม หรือขับขี่บนทางจักรยานกันไปเลย แต่ว่านั่นคือคุณกำลัง เบียดเบียน เอาเปรียบ ทำผิดกฏหมาย และเสี่ยงทำร้ายคนเดินเท้า และอาจโดนคุณตำตรวจดักจับ และที่น่ากลัวที่สุดคือ อาจโดนถ่ายคลิปแล้วนำไปประจานในโลกโซเชียลจนเสียผู้เสียคนไปเลยก็ได้ครับ ยอมเสียเวลาสักไม่กี่นาทีแต่ปลอดภัยจะดีกว่า
8. จอดรถทับทางม้าลาย

ส่วนมากทางม้าลายจะอยู่บริเวณทางแยก สี่แยก สามแยก เวลาไฟแดงมอเตอร์ไซค์ก็จะขึ้นไปจอดหน้าๆ เพื่อเวลาไฟเขียวจะได้ออกรถไวๆ ใช่มั้ยละคะ รถเก๋ง รถกระบะ จะจอดหลังเส้นขาวมอเตอร์ไซค์ก็ต้องพยายามไปจอดด้านหน้า ทำให้จอดทับทางม้าลาย นอกจากจะทำให้คนเดินถนนใช้ทางได้อย่างลำบากแล้ว ยังผิดกฎหมายมีโทษปรับอีกด้วย นอกจากข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทางข้ามแล้วนั้น หากหยุดรถขับทางข้ามยังเป็นการแสดงถึงความแล้งน้ำใจต่อผู้ร่วมทางอีกด้วย ดังนั้นควรจอดรถหลังเส้นขาวเพื่อส่วนรวมค่ะ
9. ใส่หูฟังขณะขับขี่
ถึงแม้การใส่หูฟัง หรือสมอลทอคขณะขับขี่จักรยานยนต์จะไม่ใช่เรื่องผิดกฏหมายนะคะ แต่แนะนำว่าไม่ควรใส่ดีกว่าเพราะอาจจะทำให้ผู้ขับขี่ไม่ได้ยินเสียงแตรรถ เสียงสิ่งรอบข้าง หรือเสียงรถคันอื่น ๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หากแบบดีขึ้นมาหน่อยอย่าใส่แบบ in ear (แบบจุกหัว) ให้ใส่แบบหนีบกับใบหูแทน และเปิดให้มีช่องว่างให้ได้ยินเสียงภายนอกร่วมด้วย แต่ทางที่ดีแล้วไม่ต้องใส่จะดีกว่าค่ะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
10. กางร่มกันแดดกันฝนขณะขี่รถมอเตอร์ไซค์

การกางร่มขณะขับขี่รถมอเตอร์ไซค์นั้นมือซ้ายก็ต้องถือร่ม มือขวาก็ต้องบิดแฮนด์รถ ทำให้ควบคุม หรือบังคับรถได้ไม่ดีอาจทำให้รถล้ม หรือเสียหลักทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะคะ ดังนั้นไม่ควรทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายต่อตนเอง และผู้อื่น หากจำเป็นเวลาฝนตกก็แนะนำให้พกเสื้อกันฝนติดใต้เบาะรถไว้ซักหน่อย หรือถ้าแดดน้อนมาก ๆ ก็ แนะนำให้พกเสื้อแขนยาวและถุงมือ เพื่อป้องกันฝน และแดด แทนการใช้ร่มนะคะ